ประวัติอำเภอท่าฉาง

คำกลอนเมืองโฉลก:
ท่าฉางเมืองท่านท้าว ใหญ่ล้ำ
แยกมาจากศรีวิชัยผยอง เป็นอิสระ
ขึ้นตรงสุโขทัยค้ำ ปกป้องต่อมา
ท่าฉางเมืองโฉลก แปลว่าโชคอันอุดม
มาอยู่กันเกลียวกลม ขออยู่ต่อไม่ขอไป
อยู่เถิดขอแต่ให้ทำดี อย่ามั่วสุมทำกาลีนะเจ้า
ช่วยกันก่อปฐพี ให้รุ่งเรืองนา
เป็นเอกเมืองท่านท้าว อยู่ยั้งยืนยง

คำขวัญอำเภอท่าฉาง:
ฟาร์มหอยแครง แหล่งกุ้งกุลาดำ แห่พระน้ำประจำปี ประเพณีแข่งเรือ ล้นเหลือนาข้าว มะพร้าวหมากพลู งามหรูธารน้ำร้อน อนุสรณ์พ่อท่านแบน หมื่นแสนตาลโตนด ของโปรดเคยกุ้ง

ประวัติโดยย่อ: “ท่าฉาง” เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งตามคำบอกเล่าและตำนานเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย มีชื่อว่า “เมืองโฉลก” ชาวบ้านเรียกว่า เมืองโละในบริเวณแถบนี้มีเมืองขนอน ท่าทอง เวียงสระ และไชยา เมืองโฉลก (ท่าฉาง) ขึ้นกับเมืองไชยา เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง สุโขทัยมีอำนาจในดินแดนแถบนี้ เมืองโละจึงขึ้นกับเมืองสุโขทัยประมาณปี พ.ศ. 1800 มีฐานะเท่าเทียมกับอยุธยา มีท้าวเป็นผู้ปกครอง(เทียบเท่ากับพระยา)

ต่อมาสมัยอยุธยาเมืองโละกลับขึ้นต่อเมืองไชยาอีกครั้งหนึ่ง เมืองโละเป็นเมืองท่าขนส่งข้าวไปสู่เมืองไชยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยาวจีสัตนารักษ์ เจ้าเมืองไชยาได้เปลี่ยนชื่อเมืองโละมาเป็นท่าฉาง เพราะได้มาตั้งยุ้งฉางที่เมืองโละนี้ เพื่อเป็นที่เก็บข้าวที่ส่งมาทางคลองบ้านท่ามาออกคลองโละ(คลองท่าฉาง) ผู้คนทั่วไปจึงเรียกเมืองโละ (โฉลกเป็นท่าฉางมาจนทุกวันนี้) ในตอนต้นสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองโละได้ยกฐานะจากเมืองโฉลกเป็นอำเภอท่าฉาง มีอาณาเขตขึ้นไปถึงพุมเรียง ทิศใต้จดพุนพิน บริเวณแม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปีในปัจจุบัน)

จากหนังสือต้นตระกูลคุ้มรักษ์ ได้กล่าวว่า ผู้ปกครองเมืองโละเท่าที่ทราบมีรายนาม ดังต่อไปนี้
ท้าวราช ในสมัยกรุงสุโขทัย
พระยาวรวงศ์สิริยมาศ กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ขุนทอง กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ขุนทิพย์ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ขุนรา อยุธยาตอนปลาย
ขุนสาร กรุงธนบุรีตอนต้น
หลวงรักษ์นรกิจ กรุงธนบุรีตอนปลาย
หลวงภักดีสงคราม รัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 5

อำเภอท่าฉางเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมท้องที่นี้ก่อนยกฐานะเป็น อำเภอขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอไชยา เดิมเรียกว่า “ เมืองไชยา ” ต่อมาเมื่อประมาณปี พ . ศ .2453 หลังจากนั้นมีการเลี่ยนแปลงการปกครองยกเลิกการปกครองแบบกินเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จัดตั้งเมืองต่างๆ เป็นจังหวัด เมืองท่าฉางเป็นเมืองหนึ่งที่ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2483 พื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองโละในตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย และตำบลพุนพินให้ขึ้นอยู่กับอำเภอพุนพิน

การเรียกชื่อ “ท่าฉาง” จากการสืบสวนและสอบถามต่อๆ กันมาได้ความว่า ในสมัยที่ราษฎรต้องเสีย “ส่วย” หรือ “อากร” ให้แก่รัฐเป็นสิ่งของแทนเงินนั้น เนื่องจากท้องที่บริเวณนี้ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา ฉะนั้น “ส่วย” หรือ “อากร” ที่ราษฎร์ต้องเสียเพื่อให้รัฐได้นำไปช่วยเหลือในการทำนุบำรุงบ้านเมืองและป้องกันประเทศชาติ ก็ใช้ข้าวเปลือกที่ได้จากการทำนามาเป็นสวย จากการที่ราษฎรต้องใช้ข้าวเปลือกเป็นส่วย จึงได้สร้างที่เก็บข้าวเปลือกเป็นแหล่งกลางขึ้นเรียกว่า “ยุ้ง” หรือ “ฉาง” สำหรับรับข้าวเปลือกจากราษฎร์ และต้องสร้างขึ้นตามริมคลองเพื่อสะดวกในการลำเลียงขนส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยทางเรือจึงต้องมีท่าเทียบเรือสำหรับรับข้าวจากฉาง เพื่อส่งเป็นการส่งส่วยหรืออากรตามกล่าวมาแล้ว ราษฎรจึงเรียกรวมกันว่า “ท่าฉาง” และเรียกต่อ ๆ กันมาจน

ยุ้ง หรือ ฉาง เก็บข้าวเปลือก